วันก่อนมีการแชร์ว่า Google เปิดเผยอัลกอริทีมของ Google Search เป็นข่าวครึกโครมในเว็บข่าวไอทีบ้านเรา มีการพาดหัวข่าว สื่อให้เห็น สุดยอดความลับ เคล็ดวิชาฉบับเต็ม (algorithm) ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนนับแต่ Google ก่อตั้งบริษัมทา ได้ถูกเปิดโปงออกสู่สารธารณะอย่างเต็มรูปแบบแล้ว
ว้าว! ผมในฐานะคนไอที วันนี้พอได้มีเวลาก็เลยลองดาวน์โหลดไฟล์ ebook ที่มีความยาวกว่า 158 หน้า มาลองศึกษาดูสักหน่อย
นั่งอ่านจนจบ ครุ่นคิด มีความสงสัยในบางอย่าง และก็รีบค้นหา link ต้นฉบับ (ที่ทีม Google Webmaster Website ได้เผยแพร่ออกมา) และเว็บข่าวภาษาไทยได้แปลมาอีกต่อหนึ่ง เพื่อยืนยันความเข้าใจว่าสิ่งที่เราได้อ่านไปเมื่อกี้นี้ มันตรงกับพาดหัวข่าวของสื่อไทยใช่หรือไม่
http://googlewebmastercentral.blogspot.com/2015/11/updating-our-search-quality-rating.html
และก็ ว้าว! อีกครั้ง
แท้จริงแล้วเอกสารที่ Google ปล่อยให้แท้จริงแล้วก็คือ Search Quality Rating Guideline ถ้าแปลเป็นไทยก็น่าจะแปลว่า ‘แนวทางการให้คะแนนและจัดอับดับคุณภาพของเว็บไซต์’.
เนื้อหาคร่าวๆ ก็คือการแนะนำว่าเว็บไซต์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น
- Page Quality Guideline อธิบายลักษณะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต้องประกอบด้วย
- เนื้อหาต้องดี (High Quality Pages)
- มีความน่าเชื่อถือ (Expertise / Authoritativeness / Trustworthiness หรือ E-A-T)
- มีชื่อเสียง (Positive Reputation)
- ใช้งานง่าย (Functional Page Design)
- มีข้อมูลครบถ้วน (Satisfying Amount of Website Information)
- ต้องมีการ update อย่างสม่ำเสมอ (Well Cared for and Maintained Website)
- Understanding Mobile Users Needs อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน และความต้องการของ Mobile User
- ตัวอย่างและคำอธิบายเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และด้อยคุณภาพ (Needs Met Rating Guideline)
- การใช้งานระบบ Rating Platform (ระบบภายใน Google ที่น่าจะใช้ทีมงาน Google, train ข้อมูลตัวอย่างให้กับระบบ Search Engine ให้ทำงานแม่นยำมากยิ่งขึ้น)
จากข่าวนี้ สรุปได้สั้นๆ ว่า
- เนื้อหาทั้งหมด ไม่ได้มีการเปิดเผย Algorithm ซึ่งเป็นหัวใจของระบบ Google Search แต่อย่างใด
- เว็บไซต์จะถูกค้นหาและจัดอันดับดีๆ โดย Google Search ต้องทำให้เว็บไซต์มีเนื้อหาที่มีคุณภาพ
- สื่อไทยพาดหัวข่าวผิดไปจากความจริง (ไม่แน่ใจว่าจงใจแปลข่าวสารให้ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ หรือ ไม่ได้ศึกษาต้นฉบับให้ถ้วนถี่ ก่อนจะนำมาแปล และเผยแพร่ในสื่อภาษาไทย)
- การตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวของผู้บริโภคยังไม่ค่อยมีนัก ยิ่งถ้าต้นฉบับข่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ก็มักจะไม่มีการตรวจสอบใดๆ เลย (กลายเป็นช่องว่างให้สื่อด้อยคุณภาพยังคงอยู่ในสังคมต่อไป)