วันก่อนมีความจำเป็นต้องวาด diagram เพื่อใช้ประกอบบล็อก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เจ้ากรรมที่ใช้งานปัจจุบันไม่ได้ลงโปรแกรมเขียน diagram ไว้เลย
จึงเริ่มเปิด browser พิมพ์คีย์เวิร์ด ค้นๆ ไม่กี่นาที url โปรแกรม draw.io นี้ก็โผล่ขึ้นมาในผลการค้นหา เปิดเข้าไปดู ลองเล่นไปสักพัก แล้วอุทานในใจว่า เฮ้ย เจ๋งว่ะ!
ใช่ครับมันสุดยอดจริงๆ feature ครบครัน ถือว่าเป็น Visio Killer เลยก็ว่าได้
Draw.io มีดีตรงไหน?
การใช้งาน draw.io จะเป็นการใช้งานแบบออนไลน์ เพียงแค่มี browser และอินเตอร์เนทก็ใช้ได้แล้ว ต่างจาก visio ที่ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนถึงจะใช้งานได้ เดี่ยวนี้เป็นยุคของ cloud ดังนั้นโปรแกรมมากมาย จึงย้ายไปอยู่บน cloud มากขึ้น
จุดแข็งของ draw.io ไม่ใช่การใช้งานแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่ draw.io มาพร้อมกับ feature เหล่านี้ และที่สำคัญคือฟรีแบบไม่หมกเม็ด
ใช้งานร่วมกับ Cloud Storage
draw.io สามารถทำงานร่วมกับ cloud storage ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หรือถ้าไม่ต้องการเก็บไฟล์ไว้บน cloud ก็สามารถเลือกที่จะเก็บไฟล์ไว้บนเครื่องเราก็ได้
Shapes มากมายให้เลือกสรร
draw.io มาพร้อมกับรูปแบบ shape มากมายพร้อมให้ใช้งานแบบไม่กั๊ก มีให้เลือกใช้สร้าง diagram สำหรับงานเกือบทุกรูปแบบ
- shape พื้นฐาน / flowchart
- UML / Entity Relation
- หรืออยากจะทำ wireframe สำหรับ website / ios / android .. draw.io ก็จัดให้
- Network diagram ก็มีให้ใช้ ตั้งแต่ระดับ old-school ไปจนถึง cloud -> Azure / AWS
- Diagram สำหรับ Business / Process / Floor Plan ก็มีเพียบ
- ถ้าจะสร้าง mind map ก็มี template ตัวอย่างให้เลือกใช้
Export / Embeded
เมื่อเราสร้าง diagram เสร็จแล้ว ต้องการนำรูปภาพไปใช้ในเอกสารอื่น ก็สามารถ export ได้ โดย draw.io อนุญาติให้เรา export diagram ได้หลากหลาย format
feature ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราอยากใช้ diagram ใน website เรามีทางเลือกนอกเหนือจาก export ให้เป็นรูปภาพ คือการ export แบบ embedded code โดยสามารถเลือกได้ว่าอยากได้แบบ iframe หรือ html
เราก็สามารถนำ code ที่ได้ไปแปะในหน้า website ที่ต้องการได้ทันที
Desktop-Like Experience
หลายคนอาจจะกังวลว่า draw.io จะใช้งานยาก ไม่อยากเรียนรู้ใหม่ ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ ถ้าเคยใช้ visio หรือโปรแกรมพวก dreamweaver มาก่อน ก็สามารถใช้งานได้ทันที
สนับสนุนการบันทึกแบบ Revision
feature นี้ยอดเยี่ยมที่สุดก็ว่าได้ ไม่เคยคิดว่าโปรแกรมประเภทนี้จะสามารถบันทึกงานไว้เป็น revision ได้ หลายคนสงสัยว่า revision คืออะไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นงานเอกสารทั่วไปเวลาบันทึกไฟล์ และต้องการระบุว่าไฟล์ใดใหม่ที่สุด บางคนอาจจะตั้งชื่อไฟล์ว่า
- document.docx
- document-ใหม่.docx
- document-ใหม่ที่สุด.docx
หรือถ้าบางคนมีระบบในการตั้งชื่อหน่อยก็จะใช้หมายเลขเป็นตัวบ่งชี้เวอร์ชันของไฟล์
- document-1.docx
- document-2.docx
- document-3.docx
แต่ไม่ต้องห่วงปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะ draw.io เสนอทางแก้ไขไว้แล้ว ทุกครั้งที่มีการบันทึกไฟล์ draw.io จะทำการบันทึก snapshot เป็น revision ไว้
เราสามารถเปิดดูประวัติการแก้ไขไฟล์ได้ revision history จะมีรายละเอียดวัน/เวลา และภาพ thumbnail สำหรับ snapshot นั้นๆ หรือถ้าจะทำการ restore snapshot ก่อนหน้า ก็สามารถทำได้ทันที
การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
จุดเด่นอีกข้อหนึ่งของ draw.io การทำงานร่วมกับทีมงานก็ไม่ต้องลำบากอีกต่อไป เราไม่จำเป็นต้องส่งไฟล์ผ่าน usb drive หรือแนบไฟล์ผ่าน email เพื่อคุยงานระหว่างทีมงานเหมือนในอดีต
หากเราบันทึกไฟล์ใน Google Drive เราและเพื่อนร่วมงานสามารถเปิด diagram เพื่อแก้ไข / ให้ comment ได้แบบ realtime โดยเราสามารถกำหนดได้ว่าจะแชร์ให้ใคร และให้สิทธิ์อะไรบ้างในการเข้าถึงไฟล์ เช่น สามารถแก้ไขไฟล์ / comment / หรืออ่านได้อย่างเดียว
ทำไม draw.io ถึงฟรี
draw.io ไม่เก็บค่าใช้บริการกับผู้ใช้งานทั่วไปหรือ freelance แต่โมเดลการเก็บค่าบริการจะเน้นไปที่กลุ่ม enterprise เป็นหลัก
draw.io สามารถทำงานร่วมกับ Atlassian Confluence / JIRA ซึ่งเป็นซอฟแวร์บริษัทขนาดใหญ้นิยมใช้งานจำนวนมาก และมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าบริษัทใดที่ใช้งาน confluence / jira และต้องการใช้ draw.io ก็จำเป็นต้องจ่ายค่า lisense
ส่วนผู้ใช้งานทั่วไปต้องการให้ทีมงาน draw.io ช่วยเหลือในทางเทคนิค ก็สามารถจ่ายค่า support ได้ โดยคิดในราคาต่อ 1 คน / 5 usd /month
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ lisense ได้ที่